AbsoluteGroup

http://absolutegroup.siam2web.com/

เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)

      เทอร์โมคัปเปิลถูกคิดค้นขึ้นไปปี ค.ศ. 1821 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่มีชื่อว่า  Thomus Seebeck

เทอร์โมคัปเปิลที่ใช้ในการทำงานครั้งนี้คือ Type K เนื่องจากเป็นประเภทที่นิยมและหาซื้ออุปกรณ์ในการทำได้ง่าย โลหะที่ใช้ทำเทอร์โมคัปเปิล Type K คือ โครเมียมและอลูมิเนียม

      คุณลักษณะของเทอร์โมคัปเปิล คือ ช่วงของการวัดอุณหภูมิคือ  -270 ถึง 1,370 องศาเซลเซียล และ ที่อุณหภูมิสูงๆ คือช่วงอุณหภูมิ 200-300 องศาเซลเซียลนั้น  เทอร์โมคัปเปิลชนิด K จะมีลักษณะเป็นฮีสเตอร์รีซีส คือ จะมีค่าความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและค่าความต่างศักย์ที่ได้นั้นไม่เป็นเชิงเส้น  แต่เนื่องจากค่าอุณหภูมิที่เราจะใช้ในการทำงานครั้งนี้คือ  0-50 องศาเซลเซียล  ผลกระทบนี้จึงไม่มีผลใดๆ ต่อการทำงานครั้งนี้เนื่องจาก rage ที่ใช้นั้นต่างกัน

ข้อดีของเทอร์โมคัปเปิล Type K คือ (ไม่ใช่ข้อดีทั้งหมดแต่เป็นข้อดีที่มีผลต่อการทำงาน) 

-  ผลของค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าความต่างศักย์และค่าของอุณหภูมิมีความเป็นเชิงเส้นมากที่สุดในบรรดาเทอร์โมคัปเปิลทั้งหมด 

-  เป็นแบบที่นิยมแพร่หลาย ง่ายต่อการซื้อและศึกษาอุปกรณ์

ข้อเสียของเทอร์โมคัปเปิล Type K คือ (ไม่ใช่ข้อเสียทั้งหมดแต่เป็นข้อดีที่มีผลต่อการทำงาน)

-  หลังการใช้งานเป็นเวลา 30 ปี ทำให้ส่วนผสมทางเคมีเปลี่ยนไปส่งผลให้คุณสมบัติทางแรงเคลื่อนไฟฟ้าเปลี่ยนไปด้วย

หลักการทำงานของเทอร์โมคัปเปิล 

      เทอร์โมคัปเปิลสามารถวัดอุณหภูมิได้  โดยอาศัยหลักการการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิให้เป็นแรงเคลื่อนทางไฟฟ้า ซึ่งเทอร์โมคัปเปิลทำจากโลหะสองชนิดที่แตกต่างกัน  จะนำมาเชื่อมต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกันด้านหนึ่ง ซึ่งจะเป็นจุดวัดอุณหภูมิ และปลายอีกด้านหนึ่งจะปล่อยให้เปิดไว้ไม่ต้องเชื่อมต่อกัน  ซึ่งจะเป็นจุดอ้างอิง  ถ้าเราไม่มีจุดอ้างอิงเราก็สามารถที่จะวัดอุณหภูมิได้เลยเช่นกันเพราะจะมีค่าความต่างศักย์ไหลผ่านโลหะ แต่อย่างไรเสียจุดอ้างอิงก็เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องมี  เพราะจุดอ้างอิงจะต้องเป็นจุดที่มีอุณหภูมิที่คงที่  มิเช่นนั้นแล้วค่าความต่างศักย์ที่ได้ออกมาจะมีค่าไม่คงที่  เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเพราะค่าความต่างศักย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งสองข้างไม่มีข้างใดข้างหนึ่งอ้างอิงไว้ เมื่อเรานำโลหะทั้งสองชนิดนี้มาวัดถ้าทั้งสองด้านมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันก็เกิดค่าความต่างศักย์ทางไฟฟ้าตกคร่อมโลหะนั้น  ซึ่งค่าความต่างศักย์นี้จะสัมพันธ์กับเรื่องที่ว่า  อิเล็กตรอนในปลายของโลหะด้านที่ร้อนจะมีพลังงานมากกว่าในปลายของโลหะด้านที่เย็น  จึงทำให้อิเล็กตรอนวิ่งจากปลายของโลหะด้านที่ร้อนไปหาปลายของโลหะด้านที่เย็น  จึงเกิดเป็นค่าความต่างศักย์ขึ้น

 

   

อธิบายผลของซีแบ็ค

จากผลของซีแบ็ค (Seebeck  Effect)     จะทำให้เราเห็นได้ว่า  ถ้าเราใช้โลหะชนิดเดียวกันนั้นค่า  Q  ก็จะออกมาเท่ากันทำให้ค่า  emf. ที่เราได้ออกมาเป็น 0 และค่าอุณหภูมิในจุดที่เราวัดและจุดที่เราอ้างอิงถ้ามีค่าเท่ากันค่า  emf.  ก็จะเป็น  0 จากสมการ    

เมื่อเราคิดย้อนกลับจากผลของซีแบ็ค  นั่นคือการที่เราใช้โลหะที่แตกต่างกันสองชนิดมาเชื่อมต่อกันทั้งสองด้าน  หลังจากนั้นจ่ายพลังงานให้โดยจ่ายจากภายนอก  ป้อนไฟให้วงจรจากภายนอก  ด้วยเหตุนี้จะส่งผลให้เกิดกระแสไหลได้ในวงจร  เพราะจากคุณสมบัติของโลหะที่ว่า  การส่งกระแสไฟฟ้าและความร้อนของโลหะนั้น  พบว่าขั้วด้านหนึ่งจะเกิดความร้อน  ให้เป็น  T2  และอีกขั้วหนึ่งจะเกิดความเย็น  ให้เป็น T1  โดยเรียกผลดังกล่าวว่า  ผลของเพลเทียร์ (Peltier  effect) 


 

 

แสดงผลของเพลเทียร์

Reference  Junction

     ในการทำงานของเทอร์โมคัปเปิลนั้นจะต้องมีค่าอุณหภูมิเป็นค่าอ้างอิง มิเช่นนั้นแล้วถ้าไม่มีอุณหภูมิอ้างอิงจะทำให้ได้ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง

     วิธีการควบคุม Reference  Junction

        วิธีที่ 1 Fixed reference  temperature  คือการรักษาอุณหภูมิที่ reference ให้คงที่

        วิธีที่ 2  Electrical  reference  compensate คือการใช้วงจรบริดจ์ไปต่ออนุกรม  โดยในตัวต้านทานในวงจรบริดจ์ตัวใดตัวหนึ่งนั้นให้เป็นตัวต้านทานที่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ และเมื่ออุณหภูมิที่จุดอ้างอิงเปลี่ยนแปลงไปนั้น  จะทำให้วงจรบริดจ์เสียสมดุล  จึงทำให้มีแรงดันไฟฟ้าไปเสริมวงจร จึงทำให้เราวัดค่าได้

        วิธีที่ 3  Mechanical  reference  compensate  ใช้แสดงค่าที่มี reference  อยู่ที่เครื่องแสดงค่า   คือเมื่อ  reference  junction  อุณหภูมิสูงขึ้น  Bimetalic  จะโก่งดึงเข็มเข้าชี้อุณหภูมิตามจุดวัดตลอดเวลา

 

Thermocouple  Table

     ค่าจากตารางด้านล่างนี้เป็นค่าระหว่างความสัมพันธ์ของ reference  และค่า  output  ที่ออกมาเป็นค่าความต่างศักย์  ซึ่งมีขนาดน้อยมาก  และในบางครั้งค่าที่ออกมานั้นมีค่าไม่ตรงกันกับตารางที่เราต้องการที่จะทราบค่า  เราจึงจะต้องมีการจินตนาการเอาเองว่ามีการแบ่งสเกลค่าในตารางนั้น  ซึงเราสามารถที่จะหาได้จากสมการแบ่งสเกล  ดังนี้

 

 

 

TM= TL + [(TH - TL)/ (VH - VL)] (VM - VL)

            เมื่อ                  

 VM      =  คือแรงเคลื่อนที่วัดได้จากมิเตอร์

  VH และ   VL   =  ค่าแรงเคลื่อนของ  TH และ TL  อ่านได้จากตารางโดย VH  อยู่สูงกว่า  VM และ VL ต่ำกว่า VM

        TH  และ T    =  ค่าอุณหภูมิที่ตรงกับค่าแรงเคลื่อน VH  และ VL  ตามลำดับ

 

 Chromel vs Alumel (0ºC to 640ºC)
EMF in Millivolts - Reference Junction 0ºC

  

 ///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

การตรวจวัดระดับ (Level  Sensor)

       โดยความเป็นจริงการวัดระดับของของเหลวหรือของแข็ง  ก็คือการเซ็นเซอร์ระยะ (ในแนวตั้ง)  จะเห็นว่าระดับจะมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตหลาย ๆ อย่าง  เช่นระดับของวัสดุที่อยู่ในยุ้งเก็บ (hopper)  ระดับของของเหลวในถัง  เป็นต้นระดับของวัตถุที่ต้องการวัดไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเนื้อเดียวกัน  ขึ้นอยู่กับกระบวนการเช่นอาจจะเป็น  แป้ง ข้าว  น้ำมันเชื้อเพลิง อาหาร  หรืออื่น ๆ โดยปกติถ้าเราแบ่งตัวเซ็นเซอร์วัดระดับโดยดูความต่อเนื่องของสัญญาณต่อเวลาก็พบว่ามีอยู่  2 แบบใหญ่ ๆ  ได้แก่
1.แบบต่อเนื่อง (continuous) จะให้สัญญาณออกมาเป็นสัดส่วนกับความสูงของวัตถุที่อยู่ในถังตลอดเวลา  เช่นการเปลี่ยนแปลงค่าการเก็บประจุ  เป็นต้น
2.แบบไม่ต่อเนื่อง (discrete) เอาต์พุตที่ออกมาจากเซ็นเซอร์แบบนี้ทำงานที่สองสภาวะคือ  เปิดและปิด (หรือตัดกับต่อวงจร)  แบบนี้จะใช้งานกับเครื่องควบคุมกระบวนการได้ง่ายกว่า  ตัวอย่างของเซ็นเซอร์แบบนี้ได้แก่  สวิตช์ลูกลอย หลักการอิเล็กโทรดตัวนำ  เป็นต้น
 
อุปกรณ์วัดระดับทางกล  (Mechanical  Sensor)ที่เห็นกันโดยทั่วไปได้แก่สวิตช์ลูกลอย  ตัวอย่างการใช้งานของสวิตช์แบลูกลอย เช่นในถังชักโครกซึ่งใช่ลูกลอยเป็นตัวปิดเปิดวาล์ว  ถังเก็บน้ำประปา  เป็นต้น หลักการทำงานของลูกลอยจะพบว่าตำแหน่งของวาล์วจะเป็นสัดส่วนกับระดับน้ำ  นั่นคือ หากระดับน้ำต่ำลงลูกลอยก็จะตกลงและเปิดวาล์ว เมื่อระดับน้ำสูงขึ้นลูกลอยก็จะลอยขึ้นไปผลักให้วาล์วปิด  การทำงานดังกล่าวนี้จะเห็นว่าแขนและจุดหมุน (pivot)  จะเป็นระบบการขยายแรงทางกล

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

มอเตอร์กระแสตรง ( DC MOTOR )

     มอเตอร์กระแสตรงจะมีหลักการทำงานโดยวิธีการผ่านกระแสให้กับขดลวดในสนามแม่เหล็ก ซึ่งจะทำให้เกิดแรงแม่เหล็ก โดยส่วนของแรงนี้จะขึ้นอยู่กับกระแสและกำลังของสนามแม่เหล็ก 

 

 การขับและกลับทิศทางของมอเตอร์กระแสตรง ( DC MOTOR)

     ในการใช้ไอซีไมโครคอนโทรเลอร์เป็นตัวควบคุมการหมุน และทิศทางของมอเตอร์กระแสตรงนั้น เราจะต้องมีส่วนของวงจร ที่เรียกว่าวงจรขับมอเตอร์ (Driver) ในส่วนของวงจรกลับทิศทางของมอเตอร์นั้น สามารถที่จะใช้รีเลย์ต่อวงจร สวิตซ์เพื่อกลับทิศทางของขั้วไฟกระแสตรง หรืออาจใช้อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่เป็นวงจรขับกำลังเช่น ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต แล้วแต่วิธีที่เราจะเลือกใช้งาน
จากรูปเป็นการใช้รีเลย์ควบคุมการเปลี่ยนทิศทางการหมุนของมอเตอร์ โดยการควบคุมการปิด - เปิดที่รีเลย์ 2 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่กลับทิศทางของขั้วไฟที่ป้อนให้กับมอเตอร์ โดยการสลับการทำงานของรีเลย์ เช่นให้รีเลย์ตัวที่ 1 ทำงาน (ON) และรีเลย์ตัวที่ 2 หยุดทำงาน (OFF) จะทำให้มอเตอร์หมุนไปทางซ้าย และในทำนองเดียวกันถ้าหากรีเลย์ตัวที่ 1 หยุดทำงาน (OFF) และรีเลย์ตัวที่ 2 ทำงาน (ON) ก็จะทำให้มอเตอร์หมุนไปทางขวา

 

รูปแสดงการกลับทิศทางของมอเตอร์กระแสตรงโดยใช้รีเลย์ 

   

 

รูปแสดงการใช้ทรานซิสเตอร์เพื่อขับรีเลย์ให้ทำงาน 

    จากรูปเป็นวงจรขับรีเลย์โดยใช้ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ขยายกระแส ด้วยเหตุผลเพราะไม่สามารถจะใช้ขา เอาต์พุตของไมโครคอนโทรลเลอร์ป้อนกระแสไฟที่ขดลวดของรีเลย์โดยตรงได้ เนื่องจากว่ากระแสที่จ่ายออกมาจากขา เอาต์พุตของไมโครคอนโทรลเลอร์มีค่าน้อยเกินไป ดังนั้นเราจึงต้องมีส่วนของวงจรทรานซิสเตอร์เพื่อที่จะทำการขยายกระแสให้เพียงพอในการป้อนให้กับขดลวดของรีเลย์ ส่วนไดโอดนำมาต่อไว้สำหรับป้องกันแรงดันย้อนกลับที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กในขณะเกิดการยุบตัว ซึ่งอาจจะทำให้ทรานซิสเตอร์เสียหายได้

 

รูปแสดงการใช้ทรานซิสเตอร์เป็นวงจรขับและกำหนดทิศทางของมอเตอร์กระแสตรง 

    จากรูปเป็นวงจรลิเนียร์บริดจ์แอมป์ ซึ่งจะประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์กำลัง 4 ตัวที่ทำหน้าที่ขับ และควบคุมทิศทางการหมุนของมอเตอร์ ถ้าหากกำหนดให้ทรานซิสเตอร์ Q1 และ Q4 อยู่ในสภาวะทำงาน (Active) กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านทรานซิสเตอร์จากซ้ายไปขวา โดยผ่านมอเตอร์กระแสตรงทำให้มอเตอร์หมุนไปทางขวา ในทำนองเดียวกันถ้าหากเราทำให้ทรานซิสเตอร์ Q2 และ Q3 อยูในสภาวะทำงาน (Active) กระแสไฟฟ้าก็จะไหลจากทางขวาไปทางซ้ายซึ่งจะส่งผลให้มอเตอร์กลับทิศทางการหมุนจากทางขวาไปทางซ้าย

 

การควบคุมความเร็วของมอเตอร์กระแสตรง 

    การควบคุมความเร็วของมอเตอร์กระแสตรงมีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งอาจจะใช้วิธีการควบคุมแบบพื้นฐานทั้วไปเช่นการควบคุมด้วยวิธีการใช้ตัวต้านทานปรับค่าโดยต่ออนุกรมกับมอเตอร์ หรือใช้วิธีการการควบคุมโดยการเปลี่ยนค่าของระดับแรงดันที่ป้อนให้กับมอเตอร์ แต่การควบคุมในวิธีดังกล่าวถึงแม้ว่าจะควบคุมความเร็วมอเตอร์ให้คงที่ได้ แต่ที่ความเร็วต่ำจะส่งผลให้แรงบิดต่ำไปด้วย ดังนั้นเราจึงเลือกใช้วิธีการควบคุมโดยการจ่ายกระแสไฟให้กับมอเตอร์เป็นช่วงๆ โดยอาศัยกระแสไฟที่ป้อนให้กับมอเตอร์ให้เป็นค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วง ซึ่งเราเรียกว่าวิธีการของการมอดูเลชั่นทางความกว้างของพัลส์ PWM (Pulse Width Modulation)

วิธีการมอดูเลชั่นทางความกว้างของพัลส์ (PWM)

    การมอดูเลชั่นทางความกว้างของพัลส์ PWM (Pulse Width Modulation) จะเป็นการปรับเปลี่ยนที่สัดส่วน และความกว้างของสัญญาณพัลส์ โดยความถี่ของสัญญาณพัลส์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่าของดิวตี้ไซเกิล (duty cycle) นั้นเอง ซึ่งค่าของดิวตี้ไซเคิล คือช่วงความกว้างของพัลส์ที่มีสถานะลอจิกสูง โดยคิดสัดส่วนเป็นเปอร์เซตน์จากความกว้างของพัลส์ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากค่าดิวตี้ไซเคิลมีค่าเท่ากับเท่ากับ 50% ก็หมายถึงใน 1 รูปสัญญาณพัลส์จะมีช่วงของสัญญาณที่เป็นสถานะลอจิกสูงอยู่ครึ่งหนึ่ง และสถานะลอจิกต่ำอยู่อีกครึ่งหนึ่ง ดังรูป 6.27 และในทำนองเดียวกันถ้าหากค่าดิวตี้ไซเคิลมีค่ามาก หมายความว่าความกว้างของพัลส์ที่เป็นสถานะลอจิกสูงจะมีความกว้างมากขึ้น หากค่าดิวตี้ไซเคิลมีค่าเท่ากับ 100% ก็หมายความว่าจะไม่มีสถานะลอจิกต่ำเลย ซึ่งค่าดิวตี้ไซเคิลสามารถ จะหาได้จากค่าความสัมพันธ์ดังนี้ 

ค่าดิวตี้ไซเคิล = (ช่วงของสัญญาณพัลส์/คาบเวลาทั้งหมดของสัญญาณ) X100% 



 

 

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

 

Stepping Motor Control

 

Stepping Motor เป็น Electronical Transducer ซึ่งเป็น input เป็นกลุ่มของ Binary Voltage และ Output การเคลื่อนที่ในเชิงมุม(หมุน) แกนหมุน(Shalf) เป็น step

 

 

 

โครงสร้างการทำงานของ Stepping Motor มีลักษณะดังรูปที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยขดลวด stator 4 ขดสำหรับชนิด 4 phase ล้อมรอบแกน(Shalt) Rotor ซึ่งเป็นแม่เหล็กถาวร

      หลักการทำงาน คือ เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับขดลวด stator Coil a,b,c,d ไม่พร้อมกันนั่นคือ ถ้าเราจ่ายกระแสให้ a ก่อนโดยไม่จ่ายให้ขออื่น แล้วตามด้วย b,c และd เรียงตามลำดับ จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หมุนวนในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งส่วนของ Rotor ที่เป็นแม่เหล็กถาวรก็จะหมุนตามสนามแม่เหล็กไปด้วย คือ ทวนเข็มนาฬิกา

      ในทำนองเดียวกันถ้าเราจ่ายกระแสให้ขด d,c,b,a…. ก็จะให้ สนามแม่เหล็กหมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งส่งผลให้ Rotor หมุนตามเข็มนาฬิกาด้วย

       การกำหนดความเร็วของ stepping Motor ทำได้โดยการเปลี่ยนแปลง ความเร็วของการเปลี่ยนการจ่ายกระแสจากขดลวดหนึ่งไปยังอีกขดหนึ่งให้เร็วขึ้น

       การควบคุม stepping Motor ดังที่กล่าวมาแล้ว เป็นแบบ 4 phase 1 exilation ซึ่งมีลักษณะตามตารางที่ 1 (ตัวเลข 1 หมายถึง มีการจ่ายแรงดันให้กับขดลวด 0 คือไม่จ่ายแรงดันให้กับขดลวด

ตารางที่ 1 การควบคุม Stepping Motor แบบ 4 phase 1 exilation

 

จากวงจรของรูปตัวอย่าง Stepping Motor ในรูปที่ 1 จะเห็นว่าการกระตุ้น 1 ครั้ง (1 step) จะทำให้ Motor หมุนไป 90 องศา ซึ่งในกรณีของ Stepping Motor จริงๆจะซับซ้อนกว่านี้ โดยแต่ละ step ของการ exite แกนของ Motor หมุนไปในมุมนเอยกว่านี้ซึ่งโดยทั่งไปจะเป็น 0.1 องศาถึง 30 องศา ขึ้นอยู่กับแต่ละ Stepping Motor

      เราสามารถควบคุมให้ Stepping Motor หมุนครั้งละ ½ step ได้โดยเปลี่ยนการควบคุมใหม่ดังตารางที่ 2การควบคุม Stepping Motor 4 phase ½ exilation(half- step)

 

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

Ball  Valve

   

       Ball  Valve (วาล์วบอล)  คือ วาล์วที่มีทรงกลมที่มีรูหรือพอร์ตผ่านตรงกลาง  เมื่อวาล์วปิดหลุมก็จะเกิดการตั้งฉากกับปลายลิ้นและไหลจนถูกบล็อคกับตำแหน่งพอร์ต บอลวาล์วที่แข็งแรงมักจะทำงานให้  shutoff สมบูรณ์  บอลวาล์วมีการใช้งานในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง  มีการทำงานของความดันได้ถึง 700 บาร์  อุณหภูมิสูงถึง 200 °C และมีขนาดปกติตั้งแต่ 0.5 ซม. ถึง 30 ซม.  บอลวาล์วอาจจะทำจากโลหะ , พลาสติก หรือโลหะกับเซรามิก ส่วนมากวาล์วบอลมักจะชุบโครเมี่ยมเพื่อให้คงทนมากขึ้น

       การควบคุม control valve โดยใช้สัญญาณ 1-5 Vควบคุมการทำงานของ control valveให้เปิด 0-100% โดยใช้ potentiometer หรือ ตัวต้านทานปรับค่าได้ ซึ่งจะนำ potentiometer ไปต่อกับ control valve บริเวณแกนหมุน เมื่อ มอเตอร์ทำการหมุน control valve ตัว potentiometer จะทำการหมุนไปด้วย ทำให้เกิดค่าความต้านทานขึ้น ซึ่งค่าความต้านทานจะเปลี่ยนไปตามการหมุนของ control valve ซึ่งมีความสัมพันธ์ดังนี้ * แล้วทำการต่อ divider ค่าความต้านทานเพื่อเปลี่ยนค่าความต้านทานเป็น voltage เพื่อให้สามารถเข้า microcontroller ได้โดยการต่อ divider และ zero-span เพื่อปรับ range เป็น 1-5V เพื่อเข้า micro เมื่อเข้า micro แล้วจะทำการเปรียบเทียบว่า control valve เปิดไปเท่าไหร่แล้ว เมื่อทำการประมวลผลแล้วว่าเปิดไปมุมที่ต้องการ micro จะสั่งให้มอเตอร์ทำการหยุดหมุน

Advertising Zone    Close
Online: 1 Visits: 12,555 Today: 4 PageView/Month: 16

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...